Google Algorithm 2023
,

รู้จักกับระบบ Google Algorithm อัปเดตล่าสุด ในปี 2023

ยุคนี้ใครยังไม่รู้จัก Google คืออ่อมมากกก! เพราะปัจจุบันเนี่ย Google ถือเป็นเครื่องมือการค้นหายอดนิยมและเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานทั่วโลกเลยล่ะ นับว่าเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลจากทั่วทุกสารทิศมาไว้ในที่เดียว นอกจากจะตอบโจทย์ในเรื่องของการใช้งานและความสะดวกแล้ว Google ยังมีการอัปเดตอยู่เสมอ

เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ถ้าเราเข้าใจการทำงานของอัลกอรึทึมล่ะก็ รับรองว่าการทำเว็บไซต์จะไม่ยุ่งยากอีกต่อไป แล้วเราจะทำยังไงให้ถูกใจ Search Engine กันนะ ขั้นแรกต้องทำความเข้าใจ Google Algorithm กันก่อน ถ้าพร้อมแล้วปูพรมแดงเดินตามน้องศรีไปขยี้อัลกอรึทึมให้แหลกกันเล้ยยย

Google Algorithm คืออะไร?

Google Algorithm คืออะไร?

เพื่อน ๆ รู้มั้ยว่า การทำงานของเว็บไซต์ต่างมีระบบหลังบ้านที่เป็นเบื้องหลังของการทำงานและควบคุมความถูกต้องของโปรแกรม อย่าง Google Algorithm ก็คือ ระบบในการจัดการอันดับของเว็บไซต์ โดยมีปัจจัยในการกลั่นกรองและคัดเลือกเว็บไซต์ที่มีความเกี่ยวข้องกับคำหลัก (Keyword) ที่ผู้ใช้งานกรีดกรายนิ้วกดค้นหา

Google Algorithm

ซึ่งเว็บไซต์จะต้องประกอบไปด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ มีประสิทธิภาพและมีความรวดเร็ว โดยตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุดนะจ๊ะ เพื่อความคุ้มค่า Google ก็เลยอัปเดตแบบเต็มคาราเบล ด้วยการพัฒนาผลการค้นหาและรูปแบบการใช้งานให้มีความสะดวก รวดเร็ว รอบรู้ และเต็มไปด้วยข้อมูลที่มีคุณภาพ

Google Algorithm

ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของระบบล้วนส่งผลต่อผู้ที่ทำเว็บไซต์อย่างแน่นอน หนีไม่พ้นหรอก ซึ่งหลายร้อยปัจจัยและวิธีการทำงานที่หลากหลาย ยุคนี้ไม่ควรตกเทรนด์นะ หน้าที่ของเราคือต้องคอยติดตามข้อมูลการอัปเดตอยู่เสมอ เพื่อให้เท่าทันข่าวสารและสามารถนำไปปรับใช้กับกลยุทธ์ทางธุรกิจให้ปังเกินต้าน อะไรก็ต้านทานไม่อยู่

อัลกอรึทึมของ Google ทำงานอย่างไร?

200 factors

น้องศรีขอกระซิบว่าความจริงแล้ว Google มีการอัปเดตอยู่เสมอ จึงไม่ได้มีบอกให้เห็นกันอย่างชัดเจนว่ามีการเปลี่ยนแปลงยังไง และมีอะไรบ้าง อ่าว! แล้วแบบนี้ตัวแม่อย่างพวกเราจะรู้กันได้ยังไงล่ะ? ก็คนที่ทำเว็บไซต์และ SEO หลายคนเขาเชื่อกันว่ามีมากกว่า 200 ปัจจัยในการจัดอันดับผลการค้นหาและคุณภาพของเว็บไซต์นั้น ๆ เลยทีเดียว

Google Ranking Factors

ด้วยอัลกอรึทึมที่มีการอัปเดตอยู่ตลอดเวลา ปัจจัยเหล่านั้นเลยไม่ได้เป็นที่สำคัญสักเท่าไหร่ ไม่จำเป็นที่ต้องจดจำทุกปัจจัยก็ได้นะ ขนาด Google เองก็ออกมาเผยแพร่ว่ามีการอัปเดตอัลกอรึทึมเฉลี่ย 6 ครั้งต่อวัน หรือมากกว่า 2000 ครั้งต่อปี อัปเดตขนาดนี้ น้องศรียังจำไม่ไหวเลยแม่!

ปัจจัยในการจัดอันดับของ Google Algorithm

รู้หรือไม่? Google มีเกณฑ์ในการจัดอันดับของเว็บไซต์มากถึง 200 ปัจจัย โดยจะมีการอัปเดตและการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด วันนี้น้องศรีเลยรวบรวมปัจจัยที่สำคัญเอาไว้เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจมาไว้ที่บทความนี้แล้ว มาดูกันว่าอัลกอรึทึมของ Google จะมีเกณฑ์อะไรในการจัดอันดับกันบ้าง ปูพรมแดงรอบสองตามรอยน้องศรีมาเลยจ้า

Backlink

1. Backlink

Google ใช้ Backlink เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ตรวจสอบคุณภาพและความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ โดยเว็บไซต์ Ahref ได้ทำการสำรวจสอดส่องตาแมวไว้แล้วว่า ยิ่งเว็บไซต์มี Backlink มากเท่าไหร่ ผู้ชมหรือ Traffic ของเว็บไซต์ก็จะยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น รอช้าอยู่ใย ไปหา Backlink มาเติมด่วนนน

Backlinks

แต่ Backlink ที่ดีจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเราด้วยนะ และต้องมาจากเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือด้วยละ ถ้าเป็นเนื้อหาบทความเกี่ยวกับการทำ SEO แล้วนำ Backlink มาใส่ จำเป็นต้องมาจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่นำเสนอ ตัวอย่างเช่น Contentshifu.com ทั้งนี้ในส่วนของบทความที่ลิงก์มาและตัวเว็บไซต์ก็ต้องมีความเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน ห้ามโป๊ะเอาลิงก์ที่ไม่เกี่ยวข้องมาเด็ดขาด!

fresh content

2. Fresh Content

การจะทำเว็บไซต์ให้ติดอันดับสูงเสียดฟ้า ส่วนของเนื้อหาจะต้องมีความสดใหม่ยิ่งกว่าปลาในตลาดสด สดใหม่ในที่นี้หมายถึง การเขียนเนื้อหาขึ้นมาใหม่ ไม่ซ้ำใคร ไม่คัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่น จงมีจุดยืนเป็นของตัวเอง!

Fresh Content

แม้ว่าบทความนั้นจะผ่านไปนานแสนนานเท่าไหร่ แต่การเข้าไปเปลี่ยนแปลงและอัปเดตเนื้อหาให้มีความทันสมัย ปรับปรุงคอนเทนต์ให้มีประโยชน์จะทำให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับได้ดีมากขึ้น เชื่อน้องศรีได้ดีทุกคนจ้า

evergreen content

กรณีที่คอนเทนต์ของเราเป็นแบบ Evergreen Content ไม่จำเป็นต้องอัปเดตข้อมูลบ่อย ๆ เพราะ Evergreen Content เป็นคอนเทนต์ที่แฝงความรู้แบบตายตัว แม่นยำ และยาวนาน ตำนานก็คือตำนาน อยู่ยงคงกระพัน ไม่ได้เป็นกระแสเพียงช่วงใดช่วงหนึ่ง แต่มีผลการค้นหาเรื่อย ๆ และดึงดูดความสนใจจากผู้ใช้งานได้เสมอ สปอร์ตไลท์ส่องขนาดนี้ มงไม่ลงจะงงมาก!

Keyword density 

3. Keyword density 

จำนวนคีย์เวิร์ดในเนื้อหาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการทำเว็บไซต์ ต้องมีคีย์เวิร์ดสำคัญในเนื้อหาบทความไม่น้อยกว่า 2% ของบทความ เพื่อให้ Google รับรู้ว่าเรากำลังนำเสนอเรื่องอะไร หันมามองฉันสิ ฉันมันเริ่ด! และควรกระจายคีย์เวิร์ดอย่างเหมาะสม ไม่ควรเกิน 4% ของเนื้อหา ไม่งั้นมันจะไม่มองเราว่าเป็นตัวแม่แห่งวงการอัลกอรึทึม แต่อาจมองว่าเราเป็นตัวสแปมได้นะ….

SEO Quake

น้องศรีขอชี้เป้าบอกโปรแกรมที่สามารถนับค่า Keyword Density ชื่อว่า SEO Quake เป็น Addon Extension บนเว็บเบราว์เซอร์ นอกจากนี้ยังสามารถบอกรายละเอียดของ Title, Meta tag , PageRank ,Backlink จำนวน Index ,whois และเปรียบเทียบรายละเอียดค่า SEO parameter  ของแต่ละโดเมนได้อีกด้วย อะไรจะเจ๋งปานนี้คะพี่!

User experience

4. User experience

Google ให้ความสำคัญกับการได้รับประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้งานมากที่สุด โดยประสบการณ์ดี ๆ ที่ลงตัวจะต้องได้รับจากเนื้อหาและองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ของเรา เช่น ความเร็วในการดาวน์โหลด, Meta Tag, Meta Description, Mobile Friendly, Internal Link, External Link เป็นต้น

Website speed

โดยเฉพาะเรื่องความเร็วในการดาวน์โหลดเว็บไซต์ ถ้าจะเข้าหน้าเว็บไซต์หรือข้อมูลต่าง ๆ ไม่ควรดาวน์โหลดนานเกิน 3 วินาทีนะ ขอเร็วแบบด่วนจี๋เลยพี่จ๋า เนื่องจากความรวดเร็วเป็นหนึ่งในปัจจัยที่วัดคุณภาพของเว็บไซต์ และตอบโจทย์ในการรับรู้ข่าวสารของผู้ใช้งาน ช้า ๆ ไม่ เร็ว ๆ ชอบ

Authority

5. Authority

Authority ในที่นี้หมายถึงการเป็นเหมือนศูนย์กลางข้อมูลที่เชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาครบถ้วนและแม่นยำ รวบรวมข้อมูลมาให้ผู้ใช้งานไว้ในเว็บไซต์เดียว โดย Authority จะบ่งชี้ถึงความสำคัญและความเป็นที่นิยมในเรื่องนั้น ซึ่งการมีค่า Authority สูง ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถช่วยให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับ รับรองว่าถ้า Google เห็นเป็นต้องว้าว

Authority

Google มีแหล่งข้อมูลที่มุ่งสร้างเนื้อหาโดยคำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นอันดับแรก รวมถึงคำถามเหล่านี้ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ใช้ประเมินเว็บไซต์ว่ามีคุณภาพมากพอหรือไม่ มาดูกันว่ามีคำถามอะไรบ้างที่จะวัดความมีประสิทธิภาพเว็บไซต์ของคุณกันนะ?

  • เนื้อหาให้ข้อมูลต้นฉบับ การรายงาน การวิจัย หรือการวิเคราะห์หรือไม่?
  • เนื้อหามีสาระสำคัญครบถ้วน หรือครอบคลุมหัวข้อหรือไม่?
  • หลีกเลี่ยงหัวข้อเนื้อหาที่เกินความเป็นจริงหรือผิดแปลกจากธรรมชาติหรือไม่?
  • หน้าเว็บไซต์ของคุณ เห็นแล้วอยากบุ๊กมาร์กไว้ หรือแชร์ให้เพื่อนหรือไม่?
  • เนื้อหาเว็บไซต์มีคุณภาพมากพอเมื่อเทียบกับเว็บอื่น ๆ ในผลการค้นหาหรือไม่?

อัลกอรึทึมของ Google อัปเดตอะไรบ้าง?

Algorithm update

Google Algorithm มีการอัปเดตตลอดเวลา แต่ถ้ามีอะไรที่ไม่ได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่ ก็จะไม่มีการแจ้งเตือนให้รู้ถึงการอัปเดตนั้นเลย จนกว่าจะเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน โดยการเปลี่ยนแปลงของอัลกอรึทึมที่อัปเดต มีตามนี้เลยจ้ะพี่ ๆ

Google Algorithmคำอธิบาย
Pandaใช้งานครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2011
หน้าที่ : มือปราบเว็บไซต์คุณภาพต่ำ นักก๊อปต้องโดนเด้ง!
Panguinใช้งานครั้งแรก : เมษายน 2012
หน้าที่ : จับโป๊ะคุณภาพ Backlink ดีไม่ดีพี่เช็คเอง
Pirateใช้งานครั้งแรก : สิงหาคม 2012
หน้าที่ : จับตาดูเว็บไซต์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ เตรียมขิตได้เลย
Hummingbirdใช้งานครั้งแรก : สิงหาคม 2013
หน้าที่ : คาดเดาคีย์เวิร์ดล่วงหน้าตามประสาหมอดูตัวแม่
Pigeonใช้งานครั้งแรก : กรกฎาคม 2014
หน้าที่ : จัดอันดับการค้นหาที่ปังที่สุดตาม Location
Mobile Friendly Updateใช้งานครั้งแรก : เมษายน 2015
หน้าที่ : เพิ่มอันดับเว็บไซต์ที่ Responsive และปัดตกอันดับเว็บไซต์ที่ไม่ Responsive
Rankbrianใช้งานครั้งแรก : ตุลาคม 2015
หน้าที่ : คัดกรองผลลัพธ์ให้ตรงใจ เอาใจผู้ใช้งาน
Possumใช้งานครั้งแรก : กันยายน 2016
หน้าที่ : คัดกรองและแสดงผลการค้นหาพื้นที่ใกล้ ใช่แถมชัวร์
Fredใช้งานครั้งแรก : มีนาคม 2017
หน้าที่ : ตรวจสอบและลดอันดับเว็บไซต์ที่ไร้คุณภาพ หรือสแปม Ads

ซึ่งรายละเอียดต่อจากนี้ของอัลกอรึทึมเป็นข้อมูลที่จะช่วยในการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราให้ติดอันดับได้ดีขึ้น

Panda Algorithm

1.  Panda

ขี่ Panda มาปราบเว็บไซต์ที่มีคุณภาพต่ำกันจ้า ลดอันดับเว็บไซต์ที่ไม่มีประโยชน์แก่ผู้ใช้งาน และคัดลอกเนื้อหามาจากแหล่งข้อมูลอื่น เนื้อหาไม่มีความสดใหม่ โดยมีหน้าที่ในการตรวจสอบเนื้อหาและสแปมคีย์เวิร์ด ถ้าเนื้อหาเป็น Fresh Content ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน มีคุณภาพมากพอ เว็บไซต์ของเราก็จะถูกดันขึ้นไปเป็นอันดับต้น ๆ ของ Google แน่นอนนน

Panguin Algorithm

2.  Panguin

Google สร้าง Panguin เพื่อตรวจสอบคุณภาพ Backlink หรือการเชื่อมโยงลิงก์บนเว็บไซต์ เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการทำ Backlink จากเว็บไซต์ที่มีคุณภาพต่ำใน SEO สายเทากันเป็นจำนวนมาก เพื่อไต่อันดับให้สูงขึ้น เป็นผลให้ Google สร้าง Panguin ขึ้นมาเพื่อกำจัดแบบถอนรากถอนโคนให้สิ้นซาก! และคงความมีคุณภาพให้มากขึ้นนั่นเอง

 Pirate Algorithm

3.  Pirate

เรื่องลิขสิทธิ์เรื่องใหญ่ ถือเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด Google จึงมีการตรวจสอบเว็บไซต์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งในส่วนของคอนเทนต์ เนื้อหา รูปภาพ หรือวิดีโอ สิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดอัลกอริทึมนี้ขึ้นมาก็เพื่อสวมเกราะป้องกันเป็นโจรสลัดขี่ม้าขาวพร้อมแก้ปัญหาของการละเมิดลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัล

โดยลดการแสดงข้อมูลของเว็บไซต์นั้นลงถึง 98% แล้วแกจะแรงเพื่อ!!! ส่งผลถึงการลดอันดับของเว็บไซต์แบบเต็มคาราเบล ถ้าเว็บไซต์นั้นมีการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น รับรองขิตแน่ค่ะพี่ ๆ

 Hummingbird Algorithm

4.  Hummingbird

อัลกอริทึมของ Hummingbird มีความพิเศษแบบเจ๋งแจ๋วอย่างหนึ่งคือ เป็นหมอดูที่สามารถคาดเดาคีย์เวิร์ดล่วงหน้าของผู้ใช้งานในการค้นหาข้อมูลได้ ทำให้สะดวกต่อคนที่ทำเว็บไซต์ หรือ SEO เป็นแนวทางในการหาคีย์เวิร์ด และง่ายต่อการทำเว็บไซต์ให้ติดอันดับมากขึ้น ไม่ต้องเป็นสายมูก็เป็นหมอดูได้เหมือนกันนะเนี่ย

Pigeon Algorithm

5.  Pigeon

Pigeon ถูกสร้างขึ้นมาให้ทำหน้าที่จัดอันดับผลการค้นหาตามพื้นที่ของผู้ใช้งาน โดยอิงตามเกณฑ์การจัดอันดับเว็บไซต์ของ SEO แสดงผลจากการค้นหาในพื้นที่ใกล้เคียงกับตำแหน่งที่เราอาศัยอยู่ เช่น ต้องการไปช็อปปิ้งเก๋ ๆ ฟิน ๆ ตามประสาตัวแม่ ผลการค้นหาก็จะขึ้นห้างสรรพสินค้าที่ใกล้เคียงผู้ใช้งานขึ้นมา ช่วยให้เว็บไซต์ที่ทำ Locol SEO ได้รับการแสดงผลมากขึ้นประมาณ 50% ชี้ทางปังเวอร์

Mobile Friendly Update

6.  Mobile Friendly Update

ปัจจุบันสมาร์ทโฟนเป็นที่นิยมในการใช้งานอย่างมาก ขนาดน้องศรียังมีมือถือเก๋ ๆ ตามประสาตัวแม่เลยอะ เพราะพกพาสะดวก แถมยังสามารถใช้งานได้สารพัดประโยชน์ครบจบในเครื่องเดียว Google ก็เลยเล็งเห็นถึงการค้นหาข้อมูลบนสมาร์ทโฟน โดยเพิ่มอัลกอริทึมที่แสดงผลเว็บไซต์ได้ดีบนมือถือ หรือที่เรียกว่า Mobile Responsive ขึ้นมานั่นเอง

Mobile Friendly Update

ซึ่งทำให้เว็บไซต์ที่มี Responsive มีอันดับสูงขึ้น และเว็บไซต์ที่ไม่มีก็จะลดอันดับลงมา รู้แบบนี้เตรียมอัปเกรดความปังในเว็บไซต์ตัวเองด่วนจ้า

 Rankbrian

7.  Rankbrian

Rankbrian เป็นระบบ AI ที่ช่วยเรื่องการค้นหาความหมายของคำหรือวลีที่ผู้ใช้งานค้นหา คัดกรองเนื้อหาเว็บไซต์ที่มีประโยชน์และตรงตามความต้องการมากที่สุด โดยจะสอดส่องว่าเว็บไซต์ของเรามีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน และนำไปแสดงผล เนื่องด้วยเป็น Machine Learning อัลกอริทึมจึงสามารถพัฒนาและปรับปรุงการคัดกรองตลอดเวลา ไม่หลับไม่นอน ไม่พักผ่อนกันไปเลยแม่

Possum Algorithm

8.  Possum

อัลกอริทึมตัวนี้สร้างขึ้นเพื่อจัดเรียง คัดกรอง และแสดงข้อมูลในพื้นที่บริเวณของผู้ใช้งานที่ทำการค้นหา เช่น ถ้าน้องศรีค้นหาว่า “ร้านเสื้อผ้าตามประสาตัวแม่” Google ก็จะดึงข้อมูลมาจาก Google My Business ว่ามีร้านไหนที่อยู่ใกล้เคียง และมีเสื้อผ้าที่แฝงความเป็นตัวแม่เหมาะกับสาวมั่นสไตล์น้องศรีบ้างนั่นเอง

Fred Algorithm

9.  Fred

Fred เป็นอัลกอริทึมที่มีหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานของเว็บไซต์ทั้งหมด ถ้าเว็บแกไม่เริ่ด ไม่มีทางได้เกิดแน่นอนโดยเฉพาะในเรื่องของคอนเทนต์ที่คุณภาพต่ำ เว็บไซต์ที่แสดง Ads หรือมี Affiliate Link เยอะเกินความจำเป็น ถ้ามากเกินไปก็จะไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้งาน และจะโดน Fred คุมกำเนิดอันดับของเว็บไซต์ทันที

เราจึงต้องสร้างคอนเทนต์ที่มีประสิทธิภาพ และให้ความรู้แก่ผู้ใช้งานแบบไม่มีลิมิต รับรองว่าได้เกิด ใครก็คุมกำเนิดฉันไม่ได้หรอก!

google update

น้องศรีขอบอกว่า เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2023 Google ได้เผยแพร่การอัปเดตหลักครั้งแรกของปี โดยระยะเวลาการเปิดตัวอาจใช้เวลาถึง 2 สัปดาห์เลยทีเดียว ซึ่งจะกำหนดเป้าหมายของประเภทเนื้อหาทั้งหมดในทุกภูมิภาคและทุกภาษา เพื่อส่งเสริมและให้คะแนนกับเว็บไซต์ที่มีคุณภาพหรือมูลค่าของเว็บไซต์สูง

ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีกล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ระบบของเราจะประเมินเนื้อหาโดยรวม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจทำให้บางหน้าของเว็บไซต์ที่เคยให้คะแนนต่ำสามารถแสดงผลการค้นหาได้ดีขึ้น”

google algorithm updates

การอัปเดตของ Google Algorithm ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง?

การอัปเดตของ Google ใช้เวลาหลายสัปดาห์เพื่อจะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เนื่องจากจะต้องรวบรวมข้อมูล จัดทำดัชนีและประเมินหน้าเว็บใหม่ แล้วแบบนี้จะส่งผลกระทบยังไงบ้างนะ? แน่นอนว่าการอัปเดตล่าสุดของ Google ส่งผลกระทบต่อนักการตลาดโดยตรง SEO บางคนได้รับผลกระทบในการอัปเดตที่แตกต่างกัน

google algorithm updates

การเปลี่ยนแปลงนี้มีทั้งยอดการเข้าชมลดลง อันดับของคีย์เวิร์ดหลักลดลง บางเว็บไซต์มีปริมาณการเข้าชมเพิ่มขึ้น จึงการันตีไม่ได้ว่าการอัปเดตในครั้งนี้จะส่งผลดีหรือผลเสียต่อนักการตลาด เพราะมีความผันผวนและไม่แน่นอนนั่นเอง หน้าที่ของเราจึงต้องศึกษาและติดตามข่าวสารเพื่อค้นหากลยุทธ์ใหม่ ๆ มาปรับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป มาทำให้สุด แล้วหยุดที่ครองอันดับสูง ๆ กันเถอะ!

แนะนำเว็บไซต์ติดตามการอัปเดตอัลกอริทึมของ Google

น้องศรีขอแนะนำเว็บไซต์ที่เป็นเครื่องมือการติดตามอัลกอริทึมของ Google ที่ชื่อว่า Algoroo โดยระบบของเว็บไซต์จะตรวจสอบ Keyword ที่เราเลือกและความผันผวน ซึ่งสามารถดูได้ว่ามีผลกระทบอะไรต่อหน้า SERP หรือหน้าการค้นหาบ้าง ถ้ามีผลกระทบมากกราฟจะเป็นแท่งสีแดง ถ้ามีผลกระทบปานกลางกราฟจะเป็นสีเหลือง และถ้ามีผลกระทบน้อยหรือไม่มีเลย กราฟก็จะเป็นสีเขียว หน้าตาของเว็บไซต์ตามรูปด้านล่างนี้เลย

Algorithm Algoroo

สรุป

นอกเหนือจากการรู้เท่าทันข่าวสารของ Google Algorithm เพื่อนำมาปรับใช้กับกลยุทธ์ทางดิจิทัล สิ่งสำคัญที่สุดที่น้องศรีอยากจะบอกคือการผลิตเว็บไซต์หรือคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ และมีประโยชน์อย่างแท้จริง

นอกจากนี้จะต้องตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทั้งในด้านของเนื้อหา ความรวดเร็วในการดาวน์โหลด สะดวกต่อการใช้งาน และหน้าเว็บไซต์เน้นอ่านง่าย ดีไซน์สวยสับฉบับมิสแกรนด์ ทั้งนี้ถ้าเพื่อน ๆ คำนึงถึงประสิทธิภาพสูงสุดที่ผู้ใช้งานควรจะได้รับ ก็จะทำให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับการค้นหาได้แบบเป๊ะไม่กลัวโป๊ะ การเป็นเว็บไซต์ดี ๆ ที่ลงตัวไม่ไกลฝีมือเราแน่นอน

ให้เรา SEOSEZNAM ดูแลวางแผนการตลาด เพื่อผลลัพธ์ทางธุรกิจของคุณ

Facebook
Twitter
Email
Print

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    Cookies Details

บันทึก